เกี่ยวกับบทเรียน
การใช้แผนที่ดาว
แผนที่ดาว เป็นแผนที่ที่แสดงลักษณะตำแหน่งของดาวฤกษ์บนท้องฟ้า ซึ่งทำขึ้นเฉพาะท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับละติจูดของผู้สังเกต
แนที่ดาว ประกอบด้วย ซองสำหรับใส่แผ่นดาวและมีแผ่นดาว 3 แผ่น แต่ละแผ่นมีสองด้าน แต่ละด้านแทนท้องฟ้าทางซ๊ีกฟ้าเหนือและซีกฟ้าใต้
ซองสำหรับใส่แผ่นดาวมี 2 ด้าน คือ ด้านทิศเหนือ และด้านทิศใต้ แต่ละด้านมีข้อมูลดังแสดงในรูป
- เส้นแสดงค่ามุมเงย เป็นเส้นขนานกับเส้นขอบฟ้า ขึ้นไปจนถึงจุดเหนือศีรษะซึ่งมีค่ามุมเงยมากที่สุดคือ 90 องศา เส้นแสดงค่ามุมเงยเริ่มจาก 15 องศา 30 องศา 45 องศา 60 องศา 75 องศา และ 90 องศา ตามลำดับ
- เส้นแสดงค่ามุมทิศ เป็นเส้นที่ลากจากจุดเหนือศีรษะลงมายังเส้นขอบฟ้า บอกทิศและมุมทิศต่าง ๆ เช่น ทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นมุมทิศ 135 องศา
- ตัวเลขบอกเวลา อยู่บริเวณขอบนอกของวงกลมด้านล่าง โดยบอกเวลาที่สังเกตดาวตั้งแต่ 17.00-7.00 น.
- สัญลักษณ์บอกอันดับความสง่างของดาว อยู่บริเวณมุมล่างซ้าย
- สัญลักษณ์อื่น ๆ ที่ใช้ในแผนที่ดาว เช่น กาแล็กซี เนบิวลา ตำแหน่งของดวงอาทิตย์และเส้นศูนย์สูตร อยู่บริเวณมุมล่างขวา
- วิธีใช้แผนที่ดาวที่สำหรับประเทศไทย ใช้สังเกตดาวตั้งแต่ละติจูด 5 องศาเหนือ ถึง 20 องศาเหนือ
แผ่นดาว มี 3 แผ่น แต่ละแผ่นมีข้อมูลดังนี้
- กลุ่มดาวอยู่ภายในพื้นที่วงกลม แผ่นดาวแต่ละแผ่นมีระดับความยากง่ายแตกต่างกัน จึงควรเลือกให้เหมาะสมกับผู้ใช้
- วันที่และเดือนที่สังเกตดาว อยู่บริเวณขอบนอกของวงกลม
- ซีกฟ้าเหนือ หรือซีกฟ้าใต้ อยู่บริเวณขอบนอกสุดของแผ่นดาว
วิธีใช้แผนที่ดาว
- เมื่อต้องการสังเกตดาวทางซีกฟ้าเหนือ ให้นำแผ่นดาวด้านซีกฟ้าเหนือ ใส่ลงในซองสำหรับใส่แผ่นดาวด้านทิศเหนือ หรือหากต้องการสังเกตดาวทางด้านซีกฟ้าใต้ ให้นำแผ่นดาวด้านซีกฟ้าใต้ ใส่งในซองสำหรับใส่แผ่นดาวด้านทิศใต้
- หมุนวันที่และเดือนบนแผ่นดาว ให้ตรงกับเวลาที่เราจะสังเกตดาวบนซองดาว เช่น ต้องการดูดาววันที่ 14 กุมภาพันธ์ เวลา 20.00 น. เราจะหมุนแผ่นดาววันที่ 14 กุมภาพันธ์ ให้ตรงกับเวลา 20.00 น. เราจะสามารถสังเกตกลุ่มดาวบนท้องฟ้าได้ ดังรูป