เนื้อหาของคอร์ส
แบบทดสอบก่อนเรียน
0/1
แบบทดสอบหลังเรียน
0/1
วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ว15101) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

หยาดน้ำฟ้าเป็นน้ำในสถานะต่าง ๆ ที่ตกจากเมฆมาถึงพื้นดิน เช่น ฝน หิมะ ลูกเห็บ ซึ่งหยาดน้ำฟ้าแต่ละชนิดมีกระบวนการเกิดและลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้

รูปที่ 1 เมฆ

เมฆเกิดจากไอน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญของบรรยากาศเพราะทำให้เกิดหยาดน้ำฟ้า เมื่ออากาศร้อนลอยสูงขึ้น อากาศจะเย็นลง ทำให้ไอน้ำในอากาศเกิดการควบแน่นเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ จับตัวกันเป็นเมฆลอยอยู่ในท้องฟ้า

รูปที่ 2 ฝน

ฝนเกิดเมื่อละอองน้ำในเมฆชนกันและรวมตัวกันมีขนาดใหญ่ขึ้นจนมีน้ำหนักมากเกิดกว่าที่อากาศจะพยุงไว้ได้ก็จะตกลงมายังพื้นโลก  

รูปที่ 3 หิมะ

หิมะเกิดในบางประเทศที่อยู่ในเขตหนาวหรือในบริเวณยอกเขาที่สูงมาก ๆ ในเขตอื่น ๆ ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ ไอน้ำในอากาศซึ่งมีสถานะเป็นแก๊สจะระเหิดกลับเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งจับตัวกันเป็นผลึกน้ำแข็งและตกลงมาบนพื้นโลก หิมะอาจมีรูปร่างต่าง ๆ แต่ส่วนใหญ่ที่พบมักมีรูปทรงสมมาตรแบบ 6 แฉก

รูปที่ 4 ลูกเห็บ

ลูกเห็บเกิดเมื่อพายุฝนฟ้าคะนองภายในเมฆคิวมูโลนิมบัส พายุจะพัดหยดน้ำภายในเมฆขึ้นไปในระดับที่สูงและมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ทำให้หยดน้ำเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งและถูกพัดวนขึ้นลงในเมฆ จนเกิดการพอกตัวมีขนาดใหญ่ขึ้นอีก จากนั้นจะตกลงมา ถ้าน้ำหนักไม่มากพอจะถูกพัดวนกลับขึ้นไปอีกจนเกิดการพอกตัวของน้ำแข็งเป็นชั้น ๆ คล้ายหัวหอมเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จนก้อนน้ำแข็งมีขนาดใหญ่ขึ้น เมื่ออากาศไม่สามารถพยุงรับน้ำหนักไว้ได้ ก็จะตกลงสู่พื้นโลกในลักษณะเป็นก้อนน้ำแข็ง เรียกว่า ลูกเห็บ โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.2-5 เซนติเมตร แต่ในบางครั้งอาจมีขนาดใหญ่กว่าและอาจตกลงมาเป็นก้อนหรือเกาะรวมกันเป็นก้อนขรุขระ

ในประเทศไทยลูกเห็บมักเกิดขึ้นในช่วงที่มีพายุดฝนฟ้าคะนองในฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนพฤษภาคม จะเกิดมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ