เนื้อหาของคอร์ส
แบบทดสอบก่อนเรียน
0/1
แบบทดสอบหลังเรียน
0/1
วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ว15101) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

การใช้แผนที่ดาว

แผนที่ดาว เป็นแผนที่ที่แสดงลักษณะตำแหน่งของดาวฤกษ์บนท้องฟ้า ซึ่งทำขึ้นเฉพาะท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับละติจูดของผู้สังเกต

แนที่ดาว ประกอบด้วย ซองสำหรับใส่แผ่นดาวและมีแผ่นดาว 3 แผ่น แต่ละแผ่นมีสองด้าน แต่ละด้านแทนท้องฟ้าทางซ๊ีกฟ้าเหนือและซีกฟ้าใต้

ซองสำหรับใส่แผ่นดาวมี 2 ด้าน คือ ด้านทิศเหนือ และด้านทิศใต้ แต่ละด้านมีข้อมูลดังแสดงในรูป

  1. เส้นแสดงค่ามุมเงย เป็นเส้นขนานกับเส้นขอบฟ้า ขึ้นไปจนถึงจุดเหนือศีรษะซึ่งมีค่ามุมเงยมากที่สุดคือ 90 องศา เส้นแสดงค่ามุมเงยเริ่มจาก 15 องศา 30 องศา 45 องศา 60 องศา 75 องศา และ 90 องศา ตามลำดับ
  2. เส้นแสดงค่ามุมทิศ เป็นเส้นที่ลากจากจุดเหนือศีรษะลงมายังเส้นขอบฟ้า บอกทิศและมุมทิศต่าง ๆ เช่น ทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นมุมทิศ 135 องศา
  3. ตัวเลขบอกเวลา อยู่บริเวณขอบนอกของวงกลมด้านล่าง โดยบอกเวลาที่สังเกตดาวตั้งแต่ 17.00-7.00 น.
  4. สัญลักษณ์บอกอันดับความสง่างของดาว อยู่บริเวณมุมล่างซ้าย
  5. สัญลักษณ์อื่น ๆ ที่ใช้ในแผนที่ดาว เช่น กาแล็กซี เนบิวลา ตำแหน่งของดวงอาทิตย์และเส้นศูนย์สูตร อยู่บริเวณมุมล่างขวา
  6. วิธีใช้แผนที่ดาวที่สำหรับประเทศไทย ใช้สังเกตดาวตั้งแต่ละติจูด 5 องศาเหนือ ถึง 20 องศาเหนือ

แผ่นดาว มี 3 แผ่น แต่ละแผ่นมีข้อมูลดังนี้

  1. กลุ่มดาวอยู่ภายในพื้นที่วงกลม แผ่นดาวแต่ละแผ่นมีระดับความยากง่ายแตกต่างกัน จึงควรเลือกให้เหมาะสมกับผู้ใช้
  2. วันที่และเดือนที่สังเกตดาว อยู่บริเวณขอบนอกของวงกลม
  3. ซีกฟ้าเหนือ หรือซีกฟ้าใต้ อยู่บริเวณขอบนอกสุดของแผ่นดาว

วิธีใช้แผนที่ดาว

  1. เมื่อต้องการสังเกตดาวทางซีกฟ้าเหนือ ให้นำแผ่นดาวด้านซีกฟ้าเหนือ ใส่ลงในซองสำหรับใส่แผ่นดาวด้านทิศเหนือ หรือหากต้องการสังเกตดาวทางด้านซีกฟ้าใต้ ให้นำแผ่นดาวด้านซีกฟ้าใต้ ใส่งในซองสำหรับใส่แผ่นดาวด้านทิศใต้
  2. หมุนวันที่และเดือนบนแผ่นดาว ให้ตรงกับเวลาที่เราจะสังเกตดาวบนซองดาว เช่น ต้องการดูดาววันที่ 14 กุมภาพันธ์ เวลา 20.00 น. เราจะหมุนแผ่นดาววันที่ 14 กุมภาพันธ์ ให้ตรงกับเวลา 20.00 น. เราจะสามารถสังเกตกลุ่มดาวบนท้องฟ้าได้ ดังรูป