เนื้อหาของคอร์ส
แบบทดสอบก่อนเรียน
0/1
แบบทดสอบหลังเรียน
0/1
วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ว15101) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

กลุ่มดาวประกอบด้วยดาวฤกษ์หลายดวง ที่มองเห็นเรียงตัวอยู่ใกล้ ๆ กัน ซึ่งเมื่อจินตนาการแลวลากเส้นเชื่อมโยงดาวฤกษ์เหล่านั้นจะมองเห็นเป็นรูปร่างต่าง ๆ ซึ่งแต่ละคนอาจจินตนาการได้รูปร่างของกลุ่มดาวแตกต่างกัน

 

รูปกลุ่มดาวนายพราน

รูปกลุ่มดาวคนคู่

รูปกลุ่มดาวสิงโต

รูปกลุ่มดาวหมีใหญ่ (กลุ่มดาวจระเข้)

กลุ่มดาวหมีใหญ่ คนไทยเรียกว่า กลุ่มดาวจระเข้ ซึ่งเป็นกลุ่มดาวที่คนไทยในอดีตใช้บอกเวลา ดังปรากฏให้เห็นในสักวา

“สักวาดาวจระเข้ก็เหหก  ศีรษะตกหันหางขึ้นกลางหาว

เป็นวันแรมแจ่มแจ้งด้วยแสงดาว   น้ำค้างพรายปรายโปรยโรยละออง

ลมเรื่อยเรื่อยเฉื่อยฉิวต้องผิวเนื้อ  ความหนาวเหลือทานทนกลมลหมอง

สกุณากาดุเหว่าก็เร่าร้อง  ดูแสงทองจับของฟ้าของลาเอย”

สักวาบทนี้มีใจความสำคัญอยู่ที่ว่า เมื่อใกล้สว่างดาวจระเข้ก็หมุนศีรษะลง หางขึ้นชี้บนท้องฟ้า กลุ่มดาวจระเข้อยู่ทางขอบฟ้าทิศเหนือ เมื่อเริ่มขึ้น จะเห็นหางด้านตัวกระบวย (ด้านหัวจระเข้) โผล่ขึ้นมาทางขอบฟ้าทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แล้วค่อยๆ เคลื่อนไปทางขอบฟ้าทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โดยจะหันเหเอาด้านตัวกระบวนหรือหัวจระเข้เคลื่อนที่ไป เมื่อกลุ่มดาวนี้เคลื่อนที่มาตรงขอบฟ้าทิศเหนือ จะเห็นเป็นรูปกระบวยคว่ำลง เมื่อใกล้จะตก จะเห็นด้านหัวกระบวยหรือหัวจระเข้าปักลงไปทางขอบฟ้าก่อน ด้วยเหตุนี้คนโบราณ(โดยเฉพาะคนไทย) จึงใช้กลุ่มดาวนี้เป็นเครื่องบอกเวลาได้ โดยสงเกตจากการหันเหของดาวกลุ่มนี้ ถ้าเริ่มขึ้นจะเอาหัวจระเข้ชี้ไปทางกลางฟ้า พอใกล้จะตกจะเอาหัวปักของฟ้า เอาหางชี้ฟ้า

รูปกลุ่มดาวค้างคาว