เนื้อหาของคอร์ส
ร้อยเรียงเขียนเรื่องราว
การเขียนเรียงความ บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร
0/4
วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ท22101) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

คำซ้อน ๔ จังหวะ มีลักษณะดังนี้

          ๑. คำซ้อนซ้ำ คือ คำซ้อนที่มีจังหวะที่ ๑ ซ้ำกับจังหวะที่ ๓ และมีจังหวะที่ ๒ ซ้อนกับจังหวะที่ ๔ หรือ มีจังหวะที่ ๒ ซ้ำกับจังหวะที่ ๔ และมีจังหวะที่ ๑ ซ้อนกับจังหวะที่ ๓ เช่น ขี้หลงขี้ลืม, นั่งกินนอนกิน, ผ่าเหล่าผ่ากอ

          ๒. คำซ้อนที่นำคำซ้อนมาซ้อนกัน คือ คำซ้อนที่ประกอบด้วยคำซ้อนจาก ๒ จังหวะหน้า + คำซ้อนจาก ๒ จังหวะหลัง ซึ่งคำที่นำมาซ้อนกันมีความหมายไปในทิศทางเดียวกัน คล้ายกัน
หรือตรงข้ามกัน เช่น ยินยอมอนุญาต

          ๓. คำซ้อนเสริมสร้อย คือ คำซ้อนที่ในบางจังหวะไม่ได้มีความหมายใกล้เคียงหรือตรงข้ามกัน แต่นำมาประกอบกันเพื่อสมดุลทางเสียง และมักจะเป็นคำที่มีกระบวนการสัมผัสคล้องจองกลางคำระหว่างจังหวะที่ ๒ และจังหวะที่ ๓ เช่น วัดวาอาราม, ทะเลาะเบาะแว้ง, สารทุกข์สุขดิบ

          ๔. คำซ้อนที่นำคำซ้ำมาซ้อนกัน คือ คำซ้อนที่ประกอบด้วยคำซ้ำ ๒ จังหวะหน้า +
๒ จังหวะหลัง เช่น จริง ๆ จัง ๆ, ซ้ำ ๆ ซาก ๆ

ไฟล์ตัวอย่าง
ภาษาไทย – สื่อประกอบการสอนที่ ๒.pdf
ขนาด: 718.53 KB