เนื้อหาของคอร์ส
ร้อยเรียงเขียนเรื่องราว
การเขียนเรียงความ บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร
0/4
วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ท22101) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

หลักการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ

  • ความน่าเชื่อถือของประเภทสื่อ แม้ปัจจุบันการรับข่าวสารจากอินเทอร์เน็ตหรือโซเชียลมีเดีย
    จะมีความรวดเร็วและติดตามได้ง่าย แต่ในความรวดเร็วนั้นอาจส่งผลต่อการบิดเบือนข่าวสาร
    ได้ง่าย สื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์อาจมีความน่าเชื่อถือมากกว่า เนื่องจากมีผู้ตรวจสอบข้อมูลก่อนก่อนนำเสนอ
  • ความน่าเชื่อถือของผู้เขียน หรือเจ้าของสื่อ ควรมีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ เช่น ข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพควรเชื่อถือแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ โดยทั่วไปหน่วยงานภาครัฐจะน่าเชื่อถือกว่าเอกชน รวมถึงสื่อที่นำเสนอเนื้อหาเฉพาะด้านมักน่าเชื่อมากกว่า
    สื่อที่นำเสนอเรื่องที่หลากหลาย
  • ประโยชน์และคุณค่าของเนื้อหา ผู้รับสารควรวิเคราะห์และใช้วิจารณญาณเมื่อได้รับจากสื่อ
    ว่ามีประโยชน์หรือโทษอย่างไร
  • ประเมินความทันสมัยของเนื้อหา เช่น สังเกตจากวันเดือนปีที่เผยแพร่ เพราะข้อมูลมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจากการค้นพบใหม่ จึงควรติดตามข้อมูลที่ทันสมัยเสมอ

          หากพบข่าวสารที่มีแนวโน้มจะไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือ ควรตรวจสอบให้ถี่ถ้วน โดยปัจจุบัน
มีช่องทางสำหรับการตรวจสอบ เช่น ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (www.antifakenewscenter.com)

ไฟล์ตัวอย่าง
ภาษาไทย – สื่อประกอบการสอนที่ ๖.pdf
ขนาด: 585.36 KB