เนื้อหาของคอร์ส
ร้อยเรียงเขียนเรื่องราว
การเขียนเรียงความ บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร
0/4
วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ท22101) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

คุณค่าทางวรรณคดีของเรื่อง ศิลาจารึก หลักที่ ๑

          ๑.  คุณค่าด้านเนื้อหา ได้แก่

                   ๑.๑  พระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหง เช่น

                             “พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง

                    ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสามผู้หญิงโสง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก

                    เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่อเมืองตาก

                   ๑.๒  ความกล้าหาญของพ่อขุนรามคำแหงในการรบ เช่น

                             “ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกูหนีญญ่ายพายจแจ้น กูบ่หนี

                    กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน

                    ตนกูพุ่งช้างขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี

                   ๑.๓  ความกตัญญูของพ่อขุนรามคำแหง เช่น

                             “เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู

                    กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู

          ๒.  คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ได้แก่

                   ๒.๑  การใช้คำคล้องจอง เช่น

                             “พี่น้องท้องเดียวกัน”

                             “ไพร่ฟ้าหน้าใส”

                   ๒.๒  การใช้คำซ้ำ เช่น

                             “กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง”

                   ๒.๓  ประโยคสามัญขนาดสั้น

                             “พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง

                             “พ่อกูไปรบขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า

          ๓.  คุณค่าด้านสังคม ได้แก่

                   ๓.๑  ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติในสมัยนั้น เช่น

                             “กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู

                    กูได้หมากส้มหมากหวานอันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู

                  

 

                   ๓.๒  การทำศึกสงครามเพื่อปกป้องดินแดนและขยายอาณาเขต เช่น

                             “ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่อเมืองตาก พ่อกูไปรบขุนสามชนหัวซ้าย”

                             “กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง”

                   ๓.๓  การสืบราชสมบัติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เช่น

                             “พ่อกูตาย ยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กูดั่งบำเรอแก่พ่อกู

                    พี่กูตายจึ่งได้เมืองแก่กูทั้งกลม”

ไฟล์ตัวอย่าง
ภาษาไทย – สื่อประกอบการสอนที่ ๔.pdf
ขนาด: 281.62 KB